มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยการคุมอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to value ratio-LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เห็นภาพที่ชัดเจนแล้วว่าได้ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างแรง ล่าสุดบริษัทรายใหญ่อย่างบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ประเมินตัวเลขผลกระทบจากการคุม LTV หลังจากมาตรการบังคับใช้มาได้ 2 เดือนเศษ พบว่า ยอดขายลดลงอย่างชัดเจน
LTV ทุบยอดขาย2เดือนร่วง 10-25%
“ในเดือนเมษายน-พฤกษภาคม 2 เดือนหลังจากใช้มาตรการ LTV ประกอบกับ ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากความไม่ชัดเจนของการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ภาวะการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของต่างชาติที่ลดลง ทำให้ยอดขายโดยรวมลดลงประมาณ 10-25% ขึ้นอยู่กับประเภทโครงการและทำเล โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทลงมาที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ขณะเดียวกัน ผลของมาตรการ LTV ทำให้ธนาคารค่อนข้างระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อยอดปฏิเสธสินเชื่อจึงเพิ่มขึ้นเป็น 7-8%” สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง กล่าว
สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ |
“ชีวิตช่วงนี้คงต้องเหนื่อยขึ้น แต่ต้องพยายามวิ่งสู้ฟัด” สุพัตรา กล่าวเชิงปลุกใจ พร้อมเสนอแนะไปยังธปท.ด้วยว่า อยากให้ช่วยผ่อนคลายมาตรการลงบ้าง เพราะตอนนี้มีความรู้สึกว่า tight เกินไปหน่อยสำหรับผู้ประกอบการ
แนะปลดล็อกกู้ร่วม-บ้านหลังที่สอง
เรื่องแรกคือ ผู้กู้ร่วมที่ติดร่างแหจากมาตรการ LTV นี้ด้วย อยากขอปลดล็อคให้ผู้กู้ร่วม ยังมีสิทธิในการซื้อบ้านหลังแรกของตัวเองได้
เรื่องที่สองคือ ขอผ่อนปรนให้กับการซื้อบ้านหลังที่สอง เพราะถือเป็น new norm ของคนชั้นกลางที่ซื้อบ้านหลังที่สองไว้ในเมืองใกล้ที่ทำงาน
นอกจากนี้ ยังขอฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ ช่วยพิจารณาปรับเกณฑ์ในการสนับสนุนผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองด้วยการลดค่าธรรมเนียมโอน และจดจำนองสำหรับการซื้อบ้านไม่เกิน 1 ล้านบาท อยากจะขอขยับราคาขึ้นเกินกว่า 1 ล้านบาทอีกสักหน่อย เพื่อให้คนที่ต้องการบ้านหาซื้อบ้านได้จริงๆ เพราะทุกวันนี้บ้านราคา 1 ล้านบาท ไม่มีใครทำได้แล้ว
ในขณะเดียวกัน พฤกษา เองก็พยายามปรับตัวแบบวิ่งสู้ฟัด เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ ตั้งแต่การเลือกเปิดโครงการใหม่จะต้องคัดมาอย่างดี ชนิดที่เรียกว่า ถ้าไม่ปังก็ไม่เปิด รวมถึงการขับเคลื่อนองค์กรผ่าน Digital Transformation ในมิติต่างๆ
ล่าสุดคือ การเปิดตัวแคมเปญการตลาด “PRUKSA Living Tech” ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ลงไปสู่สินค้าของพฤกษาทั้ง14 แบรนด์ เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยพร้อมเทคโนโลยีที่ทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจในปีนี้ของพฤกษา
บิ๊กอสังหาฯดึงแพลทฟอร์มดังเสริมทัพ
รวมถึงการเป็น Strategic Partner ร่วมกับช้อปปี้ ผู้ให้บริการแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เปิดตัว Pruksa Official Shop ที่ Shopee เพิ่มช่องทางการขายให้เข้าถึงผู้บริโภคในยุคดิจิทัลมากขึ้น ช่วยต่อยอดธุรกิจในช่องทางออนไลน์ให้พฤกษาสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานทั่วประเทศ และยังมีแพลทฟอร์มอื่นๆ ที่จะเข้ามาเสริมทัพอีกในอนาคต
นอกจากพฤกษาแล้ว ยังมีอีกหลายๆ บริษัทรายใหญ่ที่เริ่มจับมือกับแพลทฟอร์มรายใหญ่ เพื่อเสริมจุดแข็งในด้านใดด้านหนึ่งให้กับบริษัท อย่างเช่น บริษัท บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ก็ได้ร่วมกับช้อปปี้ในการทำตลาดผ่านแพลทฟอร์มอีคอมเมอร์ซเช่นกัน หรือในช่วงก่อนหน้านี้ บริษัท แสนสิริ ก็ได้ผนึกพันธมิตรรายใหญ่ อเมซอน-ไมโครซอฟท์-ดิจิทัล เวนเจอร์ เพื่อการเป็น Digital Real Estate Developer อย่างเต็มตัว
เอพีผนึกไลน์แมน |
โหมโปรเร่งดันยอดก่อนปิดไตรมาส 2
ขณะเดียวกัน บริษัทรายอื่นๆ ก็ต่างพยายามดิ้นรนเอาตัวรอกจากสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ โดยจะเห็นว่า ในช่วงนี้ หลายๆ บริษัทยิงแคมเปญกระตุ้นยอดขายกันอย่างหนักหน่วงและต่อเนื่อง เพื่อเร่งยอดขายอีกระลอกก่อนจบไตรมาส 2 เช่น บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ เปิดแคมเปญสอดรับกับมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนให้ผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ภายใต้แคมเปญ “ให้เยอะ ใจต้องนิ่ง” กับ 2 โครงการ ขนาด 1 ห้องนอน 28 ตารางเมตร มีเฟอร์นิเจอร์ครบพร้อมหิ้วใบเดียวเข้าอยู่ ราคาเพียง 999,000 บาท
บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เปิดแคมเปญ “All eyes on me โปรดี จนไม่อาจละสายตา” นำ 6 โครงการ พร้อมอยู่ บน 6 ทำเลศักยภาพสูงสุดติดรถไฟฟ้า จัโปรพิเศษอยู่ฟรี 2 ปี! หรือ รับส่วนลดและสิทธิพิเศษสูงสุดถึง 2 ล้านบาท บริษัท ธนาสิริ กรุ๊ป เปิดแคมเปญพิเศษ “THANA PAY DAY” เพื่อเป็นการเร่งการตัดสินใจและแบ่งเบาภาระให้ผู้บริโภค โดยนำบ้านพร้อมอยู่ทุกโครงการ มาจัดรายการส่งเสริมการขายในราคาพิเศษลดสูงสุดกว่า 2 ล้านบาท บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จัดกิจกรรมการขายโดยนำคอนโดพร้อมอยู่มาจัดโปรโมชันราคาพิเศษ เป็นต้น
เมื่อภาวะตลาดยังคงอึมครึม รัฐบาลใหม่ยังไม่สามารถบริหารและขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ได้ ประกอบกับปัจจัยลบต่างๆ ที่ยังไม่คลี่คลาย จึงคาดว่าในช่วงเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของไตรมาส 2 กิจกรรมการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขายก่อนปิดไตรมาสจะดุเดือดและ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น