ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) อยู่ในขั้นตอนของการปิดประกาศ และจะเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ตั้งแต่ 9.00 น. เป็นต้นไป
ในร่างผังเมืองกทม.ฉบับใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากระบบขนส่งมวลชนทางรางทั้งที่เปิดให้บริการแล้ว กำลังจะเปิดให้บริการ และที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างทำให้ต้องปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของคนกทม.จากระบบล้อสู่ระบบรางในอนาคต
การใช้ประโยชน์ที่ดินของ (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) จะส่งผลให้กรุงเทพมหานครมีการพัฒนาเป็นเมืองกระชับ (Compact City) โดยการส่งเสริมการพัฒนาเมือง ที่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และการพัฒนาบริเวณพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร (Transit Oriented Development หรือ TOD) ทั้งในเขตชั้นในและเขตชั้นกลาง
ประกอบกับ การพัฒนาศูนย์ชุมชนชานเมือง (Sub Center) เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างแหล่งงานและที่อยู่อาศัย (Job-Housing Balance) ในเขตชานเมือง ควบคู่กับการพัฒนาศูนย์ชุมชนเกษตรกรรมและการสงวนรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ของกรุงเทพมหานคร
แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินร่างผังเมืองกทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 4) |
ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้เปลี่ยนจากบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ และตึกแถว เป็นอาคารชุดพักอาศัย อาคารพาณิชย์ และอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ตามแนวสายทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยสัดส่วนการจดทะเบียนบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ และตึกแถว เปรียบเทียบกับการจดทะเบียน อาคารชุดพักอาศัยเปลี่ยนแปลงจาก 74% และ 26% เป็น 37% และ 63% เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2545-2550 และระหว่างปี 2555-2560 ตามลำดับ
ส่องทำเลดาวรุ่งในร่างผังเมืองกทม.
การขยายตัวของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะในด้านของที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นสูงจะขยายตัวออกไปใน 3 ทิศทาง ได้แก่ ทิศเหนือตามแนวรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียว ทิศตะวันออก ตามแนวสายสีเขียวไปทางสมุทรปราการ และตามแนวแอร์พอร์ตลิงค์ รวมถึงสายสีส้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และทิศตะวันตก ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ออกไปทางเพชรเกษมและบางแค
นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาในระดับรองเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางแทรกอยู่ในบริเวณที่อยู่ระหว่างพื้นที่การให้บริการของระบบขนส่งมวลชน
สำหรับพื้นที่ศูนย์กลางที่สำคัญของกรุงเทพฯ ได้แก่ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือ CBD (Central Business District) ได้แก่ บริเวณสีลมและสาทร
นอกจากนี้ จะมีศูนย์คมนาคมขนส่งซึ่งมีพาณิชยกรรมระดับเข้มข้นรวมอยู่ด้วย ได้แก่ ศูนย์คมนาคมมักกะสัน ศูนย์คมนาคมพหลโยธินที่จะมีสถานีกลางบางซื่อ และทางฝั่งธนบุรีจะมีศูนย์คมนาคม แถววงเวียนใหญ่
ขณะเดียวกันจะมีการส่งเสริมให้มีศูนย์ชุมชนที่อยู่ชานเมือง ไม่ว่าจะเป็น ลาดกระบัง บางกะปิ มีนบุรีตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูตัดกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ส่วนด้านบนของกรุงเทพฯจะมีสะพานใหม่ ไปทางตะวันตกมี ตลิ่งชันเพชรเกษม บางแค และบนถนนพระราม 2
ศูนย์ชุมชนชานเมือง เพื่อให้มีการค้าและการบริการกระจายตัวอยู่ในเขตชั้นกลางและเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร ประชาชนบางส่วนสามารถที่จะใช้บริการโดยไม่ต้องเข้ามาในเขตชั้นใน นอกจากนี้ควรจะมีการจ้างงานอยู่ในบริเวณศูนย์ชุมชนต่างๆ โดยอาจจะต้องมีสำนักงานอยู่ในบริเวณชานเมืองบ้างเพื่อให้เกิด job-housing balance
ศูนย์ชุมชนชานเมือง เพื่อให้มีการค้าและการบริการกระจายตัวอยู่ในเขตชั้นกลางและเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร ประชาชนบางส่วนสามารถที่จะใช้บริการโดยไม่ต้องเข้ามาในเขตชั้นใน นอกจากนี้ควรจะมีการจ้างงานอยู่ในบริเวณศูนย์ชุมชนต่างๆ โดยอาจจะต้องมีสำนักงานอยู่ในบริเวณชานเมืองบ้างเพื่อให้เกิด job-housing balance
ในร่างผังเมืองกทม.ฉบับใหม่ จะมีการเพิ่ม-ลด พื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินตามประเภทดังนี้
ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย เนื้อที่ตามผังเมืองกทม.ฉบับปัจจุบันมีจำนวน 273,957.82 ไร่ หรือคิดเป็น 27.97% ในร่างผังเมืองกทม.ฉบับใหม่ ปรับลดลงเหลือ 246,116.80 ไร่ คิดเป็น 25.13% หรือลดลง 27,841.02 ไร่ โดยไปเพิ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาปานกลางแทนเพิ่มที่ดินสร้างคอนโด 6 หมื่นไร่
ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ในผังเมืองกทม.ฉบับปัจจุบัน มีเนื้อที่ 155,050.51 ไร่ คิดเป็น 15.83% ร่างผังเมืองกทม.ฉบับใหม่ จะปรับเพิ่มเป็น 216,033.61 ไร่ คิดเป็น 22.06% หรือเพิ่มขึ้น 60,983.10 ไร่ เพื่อรองรับการอยู่อาศัยในพื้นที่เขตเมืองชั้นกลาง
ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ในผังเมืองกทม.ฉบับปัจจุบัน มีเนื้อที่ 66,734.68 ไร่ คิดเป็น 6.81% ร่างผังเมืองกทม.ฉบับใหม่ เพิ่มเป็น 67,115.86 ไร่ คิดเป็น 6.85% หรือเพิ่มขึ้น 381.17 ไร่ แม้ที่ดินสำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่พื้นที่การก่อสร้างอาคารจะเพิ่มขึ้นจากการปรับค่า FAR หรือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio)
พื้นที่พาณิชยกรรม ในผังเมืองกทม.ฉบับปัจจุบันมีเนื้อที่ 42,802.44 ไร่ คิดเป็น 4.37% ปรับเพิ่มเป็น 49,074.20 ไร่ หรือคิดเป็น 5.01% เพิ่มขึ้น 6,271.75 ไร่
พื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ในผังเมืองกทม.ฉบับปัจจุบันมีเนื้อที่ 150,203.63 ไร่ คิดเป็น 15.34% ลดลงเหลือ 53,779.61 ไร่ คิดเป็น 5.49% เนื้อที่ลดลง 96,424.02 ไร ส่วนพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ในผังเมืองกทม.ฉบับปัจจุบันมีเนื้อที่ 234,899.86 ไร่ คิดเป็น 39.32% เพิ่มเป็น 293,702.67 ไร่ คิดเป็น 29.99% หรือเนื้อที่เพิ่มขึ้น 58,802.82 ไร่
ปรับการใช้ประโยชน์เพิ่ม-ลด FAR
ปรับการใช้ประโยชน์เพิ่ม-ลด FAR
ขณะที่กันร่างผังเมืองรวมกทม. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 ) ได้เพิ่มการจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินจาก 26 ประเภท เป็น 31 ประเภท ประกอบด้วย
ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ย. 1-5 กำหนด โดยอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) ตั้งแต่ 1 เท่า ไปจนถึง 3 เท่า
ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ย.6-10 FAR ตั้งแต่ 3.5-5.5 เท่า ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ย.11-15 FAR ตั้งแต่ 6-8 เท่า
พาณิชยกรรม พ.1-8 (มีการเปลี่ยนพื้นที่อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นพื้นที่พาณิชยกรรม โดยข้อกำหนดในการอนุรักษ์จะใช้กฎหมายของกทม.ควบคุมแทน) มีFAR ตั้งแต่ 3.5-5.5 เท่า 3-10 เท่า
พื้นที่อุตสาหกรรม อ. 1-2 FAR 1.5-2 เท่า พื้นที่คลังสินค้า อ. 3 มีFAR 1 เท่า พื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ก.1-2 FAR 0.5 เท่า ส่วนพื้นที่ชนบทและเษตรกรรม ก.3-4 มี FAR 1 เท่า
ขยายพื้นที่ผุดตึกสูง/ลดที่จอดรถ 25% สำหรับเงื่อนไขขนาดกิจการจะต้องตั้งอยู่ริมถนนที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 10, 12, 16 และ 30 เมตร หรืออยู่ในระยะ 500, 650 และ 800 เมตร โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หรือระยะ 800 เมตรโดยรอบสถานีร่วม หรืออยู่ในระยะ 250 เมตรโดยรอบท่าเรือสาธารณะริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
นอกจากนี้ยังลดหย่อนจำนวนที่จอดรถยนต์ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร ลง 25% สำหรับ อาคารที่ตั้งอยู่ในระยะ 500 เมตร โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หรือ 800 เมตรโดยรอบสถานีร่วม ตามที่กำหนด
ทั้งนี้ แผนการก่อสร้างโครงการคมนาคมและขนส่งในร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ได้กำหนดให้มีถนนเดิมขยาย และถนนโครงการจำนวน 203 สาย เพิ่มขึ้นจาก 136 สาย เพื่อให้เกิดเป็นโครงข่าย ถนนสายรอง สำหรับการเข้าออกระหว่างพื้นที่ภายในเขตปิดล้อมขนาดใหญ่ (Super Block) กับถนนสายหลักและ สถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ตั้งอยู่บนถนนสายหลักต่างๆ ได้อย่างสะดวก
สรุปการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สำคัญ ในร่างผังเมืองรวมกทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 4)
- ขยายพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางรอง (Sub-CBD) เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการจ้างงานต่อเนื่องจากพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง (CBD) ทางทิศตะวันออกไปตามแนวถนนรัชดาภิเษก
- ส่งเสริมการพัฒนาบริเวณถนนบรรทัดทอง และบริเวณถนนเจริญกรุง-เจริญนครให้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมที่เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Innovation District)
- ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางภายในถนนวงแหวนรัชดาภิเษกให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) รถไฟฟ้าสายสีเขียว(หมอชิต-คูคต) และรถไฟฟ้าสายสีน้ าเงิน (หัวล าโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ)
- ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างถนนวงแหวนรัชดาภิเษกและถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกจากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) สายสีเหลือง(ลาดพร้าว-ส าโรง) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
- ขยายพื้นที่พาณิชยกรรมบริเวณสถานีร่วม(สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ) ศูนย์ชุมชนชานเมืองมีนบุรี และย่านพาณิชยกรรมถนนบางนา-ตราด ส่วนพื้นที่นอก ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกกำหนดให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
- ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างถนนวงแหวนรัชดาภิเษก (ถนนจรัญสนิทวงศ์) และถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก จากการใช้ประโยชน์
- ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค)
- ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมฝั่งตะวันตกของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และพาณิชยกรรม เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางหว้า-ตลิ่งชัน) และการพัฒนาศูนย์ชุมชนชานเมืองตลิ่งชัน
- พื้นที่นอกถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกกำหนดให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และศูนย์ชุมชนเกษตรกรรมกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม โดยยังคงไว้ซึ่งพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมในเขตบางขุนเทียนเพื่อสงวนรักษาระบบนิเวศทางธรรมชาติของพื้นที่ชายฝั่งทะเลของกรุงเทพมหานคร
- ปรับลดพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมฝั่งตะวันออกโดยการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันน้ำท่วมและการระบายน้ำ และส่งเสริมการพัฒนาเมืองบริวารหนองจอก ศูนย์ชุมชนชานเมืองลาดกระบัง และศูนย์ชุมชนเกษตรกรรมกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม
Casino - Bracket betting guide for your chance to win
ตอบลบThe Casino is a kadangpintar unique casino that has been around for over a decade. It has managed to offer great jancasino games https://jancasino.com/review/merit-casino/ such ventureberg.com/ as Blackjack, Roulette and Video Poker,